โครงงาน
เรื่องการปลูกผักกวางตุ้ง
เสนอ
อาจารย์
ลัดดาวัลย์ ศิริวงษ์
จัดทำโดย
นางสาว เจนจิรา สิงห์ขร
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4/1 เลขที่ 21
โครงงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
คำนำ
โครงงานเรื่องการปลูกผักกวางตุ้ง
เป็นโครงงานที่บูรณาการการเรียนรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โดยได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในสถานศึกษา โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้เป็นอย่างดีและเหมาะสมกับสถานศึกษา
และได้นำความรู้ในด้านทักษะการทำงานไปพัฒนาปรับปรุงดิน
โดยได้เรียนรู้ด้วยวิธีปฏบัติจริง
สามารถฝึกความอดทนในการทำงาน
การทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
โครงงานเรื่องการปลูกผักกวางตุ้ง ผู้จัดทำขอขอบพระคุณผู้บริหารสถานศึกษา
คุณครู
ผู้ให้ความรู้และให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูล การเขียนรายงานและการจัดทำโครงงาน จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ผู้จัดทำโครงงานเรื่องการปลูกผักกวางตุ้ง
ขอขอบคุณท่านที่ให้ความอนุเคราะห์มา
ณ โอกาสนี้
ผู้จัดทำ
3 กันยายน 2555
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเกษตร เรื่อง “การปลูกผักกวางตุ้ง”
ผู้จัดทำขอขอบคุณ อาจารย์ลัดาวัลย์ ศิริวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษาที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และ ขอขอบคุณผู้ปกครอง ที่ให้คำแนะนำ
ในเรื่องการปลูกผักกวางตุ้งที่สนับสนุนในการทำโครงงานในครั้งนี้
ผู้จัดทำขอขอบคุณทุกท่านที่กล่าวไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ผู้จัดทำ
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง
การปลูกผักกวางตุ้งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเนื้อหาความรู้ทางด้านวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีมาประใช้ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน
โดยการศึกษาเกี่ยวกับการปลูกผักกวางตุ้ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามและน่ารับประทาน
ที่เกิดจากวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
และยังสามารถพัฒนาเป็นอาชีพอีกด้วย ทั้งยังสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีและเห็นคุณค่าของวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ความรู้ที่ใช้ในการปลูกผักกวางตุ้งในครั้งนี้
คณะผู้จัดทำได้นำความรู้ทางด้านวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีในเรื่องภาวะเศรษฐกิจมาใช้และจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองผลที่ได้จากการศึกษาและทำโครงงานในครั้งนี้คือได้ผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่ได้จากผักกวางตุ้ง
บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังตกอยู่ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ข้าวยากหมากแพง
ผักซึ่งเป็นอาหารของคนไทย เป็นผักที่สำคัญต่อการประกอบอาหาร ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหานี้โดยการใช้ความรู้ที่เรียนมาได้ทำการปลูกผักสวนครัวขึ้นและผู้จัดทำจึงศึกษาเกี่ยวกับผักกวางตุ้ง
ด้วยเหตุจึงเกิดเป็นโครงงานเรื่อง การปลูกผักกวางตุ้งในครั้งนี้ขึ้น
หลักการและเหตุผล
พืชผักสวนครัว มีความสำคัญต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก
เพราะเป็นประโยชน์ในด้านอาหาร การค้า การแพทย์อาหารจาก
พืชผักสวนครัวอุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุที่มีประโยชน์มากมาย และ ราคาถูก ปลอดสารพิษ ผู้จัดทำโครงงานจึงเลือกที่จะทำโครงงานเกี่ยวกับเรื่องพืชผักสวนครัว
ซึ่งก็คือ ผักกวางตุ้ง
วัตถุประสงค์
1) ศึกษากรรมวิธีปลูกพืชผักสวนครัว
2) ศึกษาการเจริญเติบโตของพืชผักสวนครัว
3) ศึกษาประโยชน์จากพืชผักสวนครัว
เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ ผักกวางตุ้งขยายพันธุ์ปริมาณมากขึ้น
เป้าหมายเชิงคุณภาพ ผักกวางตุ้งปลอดเชื้อ แข็งแรง คุณภาพดี
ผลคาดว่าจะได้รับ
1) ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกผักกวางตุ้งไว้ใช้ประโยชน์
2) ได้เรียนรู้ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง
3)
สามารถนำผักที่ได้จากการปลูกไปรับประทานและนำไปขายได้
ปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขปัญหา
1) พบแมลงในแปลงปลูกผัก 2) ดินมีสภาพที่แข็งทำให้ผักเจริญเติบโตช้า
การแก้ไขปัญหา
1)ใช้น้ำขี้เหล็กต้มมารดหรือฉีดในแปลงผัก 2) พรวนดินเป็นประจำและรดน้ำใส
งบประมาณ
เมล็ดผักกาดเขียวกวางตุ้ง ราคา 15 บาท
ระยะเวลา 1.ก.ค.55 - 31.ก.ย.55
สถานที่ดำเนินโครงงาน แปลงเกษตรที่บ้าน
บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica chinensis Jusl var
parachinensis (Bailey) Tsen & Lee
วงศ์ Cruciferae
ชื่อสามัญ Chinese Cabbage-PAI TSAI
|
ลักษณะ :
เป็นผักที่นิยมบริโภคกันมาก
ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว อายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 35-45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้
เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง นำมาประกอบอาหารประเภทผัด แกงจืด ผักจิ้ม
เป็นต้นสามารถปลูกได้ทุกฤดูและนิยมปลูกกันทั่วประเทศทั้งในรูปของสวนผักการค้า
ราก
เป็นระบบรากแก้ว อยู่ในระดับตื้น ส่วนที่ใหญ่สุดของรากแก้ว ประมาณ
ลำต้น ตั้งตรง มีสีเขียว
ขนาดโตเต็มที่ใช้รับประทานได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4-
ใบ
ใบเลี้ยงมี 2 ใบ มีสีเขียว
ปลายใบตรงกลางจะเว้าเข้า ส่วนใบจริงจะแตกเป็นกระจุกที่บริเวณโคนต้น เป็นใบเดี่ยว
ใบเรียบไม่ห่อหัว สีเขียว ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ขอบใบเป็นรอยฟันเลื่อยเล็กมาก
ใบแก่ผิวใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ไม่มีขน ของใบเรียบหรืออาจมีรอยเว้าตื้นๆ
ขนาดเล็กโคนใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบมน
ก้านใบที่ติดกับลำต้นมีสีเขียวอ่อนเป็นร่องและเรียวกลมขึ้นไปหาแผ่นใบ ก้านใบหนาและมีสีขาวอมเขียว
สำหรับใบที่ช่อดอกจะมีก้านใบยาว 2-
ช่อดอกและดอก ผักกาดเขียวกวางตุ้งจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ
55-75 วัน ช่อดอกยาว 50-
ผล
ผลมีลักษณะเป็นฝัก รูปร่างเรียวยาว แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนปลายไม่มีเมล็ด ยาวประมาณ 0.9-
เมล็ด ค่อนข้างกลม
มีทั้งสีน้ำตาลและสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผิวเมล็ดมีลายแบบร่างแห เห็นไม่ค่อยชัด
น้ำหนัก 1,000 เมล็ดประมาณ
|
ผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน
แต่ที่นิยมปลูกและบริโภคกันมากคือ ผักกาดเขียวกวางตุ้งใบ
สำหรับพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งใบที่ทางกรมวิชาการเกษตรส่งเสริมแนะนำคือ
พันธุ์น่าน 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นผักกาดชนิดไม่ห่อปลี ส่วนกลางของก้านใบค่อนข้างหนา
ใบมีสีเขียวอ่อน ความยาวเฉลี่ย
ลักษณะเด่นของพันธุ์น่าน 1 คือ เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตเร็ว อายุสั้น
เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุระหว่าง 30-40 วัน
น้ำหนักเฉลี่ยต่อต้นสูง ต้นไม่แตกแขนงทำให้เสียหายน้อยในการบรรจุเพื่อการขนส่ง
ไม่ออกดอกก่อนอายุ 40 วัน
จึงสามารถทยอยเก็บเกี่ยวส่งตลาดได้ตั้งแต่อายุ 30-40 วัน
แต่ข้อเสียของพันธุ์น่าน 1 ก็คือ
ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง
ผักกาดเขียวกวางตุ้งสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด
แต่จะเจริญได้ดีที่สุดในสภาพดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี
มีอินทรีย์วัตถุสูง ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)
ควรอยู่ระหว่างสภาพเป็นกรดเล็กน้อยจนถึงปานกลาง คือ pH อยู่ระหว่าง 6-6.8 ชอบดินที่มีความชื้นสูงเพียงพอสม่ำเสมอ
ได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-
เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่มีระบบรากตื้น
ดังนั้นในการเตรียมดินควรขุดไถดินให้ลึกประมาณ 15-
1. การปลูกแบบหว่านเมล็ดโดยตรง
วิธีนี้นิยมใช้ในการปลูกแปลงที่ยกร่อง มีร่องน้ำกว้าง และพื้นที่ควรมีการเตรียมอย่างดี
และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์
เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งมีขนาดเล็กมาก
ดังนั้นก่อนหว่านควรผสมกับทรายเสียก่อน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 1 ส่วนผสมกับทรายสะอาด 3 ส่วน
แล้วหว่านให้กระจายทั่วแปลงสม่ำเสมอแล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหนาประมาณ
1/2-
2. การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว
การปลูกวิธีนี้หลังจากเตรียมดินแล้วจึงทำร่องลึกประมาณ 1.5-
การให้น้ำ เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก
และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเกษตรกรจะต้องให้น้ำอย่างพึงพอและสม่ำเสมอ
อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
โดยใช้ระบบพ่นฝอยหรือใช้สายยางติดหัวฝักบัว
อย่าให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโต
เพราะจะทำให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งชะงักการเจริญเติบโตได้
การใส่ปุ๋ย
เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักกินใบและก้านใบ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยยูเรีย
(46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30
กิโลกรัมต่อไร่
เป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางใบและก้านใบให้เร็วขึ้น หรือใช้ปุ๋ยสูตร 20-11-11
หรือสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่
หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการราดน้ำตามทันที อย่าให้ปุ๋ยตกค้าง
สำหรับการพรวนดินและกำจัดวัชพืช
ควรทำให้ระยะแรกพร้อมกับการถอนแยก
อายุการเก็บเกี่ยวของผักกาดเขียวกวางตุ้งค่อนข้างเร็ว
คือ ประมาณ 35-45 วัน
การเก็บเกี่ยวโดยเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่ตามต้องการ แล้วใช้มีดคมๆ ตัดที่โคนต้น
แล้วทำการตัดแต่งใบนอกที่แก่หรือใบที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายออก
หลังจากตัดแต่งแล้วจึงบรรจุภาชนะเพื่อส่งจำหน่ายตลาดต่อไป
สำหรับการเก็บรักษา
เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักอวบน้ำ
ดังนั้นการเก็บรักษาจึงควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำประมาณศูนย์องศาเซลเซียสที่ความชื้นสัมพัทธ์ 95 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง
3 สัปดาห์
|
คุณค่าทางอาหาร :ผักกวางตุ้ง
|
สรรพคุณทางยา :กวางตุ้งช่วยลด
การเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งโรค กล้ามเนื้อเสื่อม และโรคเลือดหัวใจตีบ
|
บทที่3
วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการดำเนินงาน
1)
เลือก
เมล็ดพืชที่ต้องการปลูก
2)
ขุดแปลงผัก
-การเตรียมดิน
การเตรียมดินสำหรับการปลูกผักปลอดสารเคมีให้ขุดแปลงพลิกหน้าดิน
ตากแดดไว้ 7 วัน ทำแปลงกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร หรือ 5 เมตร ขุดดินให้ลึก 30 เซนติเมตร
หรือ 1 หน้าจอบ ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
2 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตร และอาจใช้เมล็ดสะเดาบดคลุกลงไปด้วย
เพื่อช่วยป้องกันโรคและแมลง คลุกเคล้าให้เข้ากัน
รดน้ำให้ชุ่มแล้วทิ้งไว้ 3 - 5 วัน จึงพร้อมที่จะปลูกผัก
การเตรียมดินสำหรับการปลูกผักในกระถางหรือภาชนะปลูกอื่น
ก็ให้ผสมดิน 1 ส่วน กับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1
ส่วน และอาจจะผสมเมล็ดสะเดาบดลงไปด้วยก็ได้
ดินที่ใช้ปลูก ถ้าซื้อมาจากร้านขายต้นไม้
ก็ควรเลือกซื้อดินที่มีส่วนผสมของใบก้ามปู จะช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน หากดินที่นำมาใช้เป็นดินเหนียว
ก็อาจจะผสมทรายหรือขี้เถ้าแกลบลงไปด้วย เพื่อช่วยให้ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น
ไปที่แปลงเกษตรแล้วพรวนดิน
3)
รดน้ำดินให้ชุ่ม
4)
หว่านเมล็ดไปทั่วๆแปลง
5)
รดน้ำทุกพักกลางวันและเย็น
6)
สังเกตละบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงของต้นกวางตุ้ง
วัสดุอุปกรณ์
1)จอบ
2)คราด
3)บัวรดน้ำ
บทที่4
ผลของการศึกษาค้นคว้า
จากการศึกษาพบว่าผักกวางตุ้งที่ได้มีลำต้นอวบเขียวน่ารับประทาน แต่ผักกวางตุ้งบางต้นจะมีแมลงเจาะอาจจะมีรอยกัดไม่น่ารับประทานก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะเราจะเอาไปแปรรูปเป็นอาหารที่น่ารับประทานยิ่งขึ้น
เช่นการผัด ใส่เนื้อหมู การต้มจิ้มน้ำพริกก็อร่อยไปอีกแบบ
บันทึกผลการเจริญเติบโต
1-4 วัน ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ
5 วัน เริ่มมีต้นอ่อนพืชโผล่ขึ้นมาจากหน้าดิน
6-8 วัน ต้นอ่อนสูงขึ้นเรื่อยๆและเริ่มเห็นใบเลี้ยง , สังเกตได้เป็นหย่อมๆ
9-15 วัน ผักกาดกวางตุ้ง โตปกคลุมเกือบทั้งแปลง และขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ
16-20 วัน ใบผักกาดกวางตุ้งมีขนาดใหญ่ขึ้นชัดเจน แต่บางต้นพบรอยฉีกขาดที่ใบ
21-30 วัน พบบางต้นล้มตาย แต่โดยรวมแล้วทุกต้นขยายใหญ่ขึ้น
และปกคลุมแปลง
บทที่5
สรุปผล
สรุปผล
จากการทำโครงงานนี้ทำให้ได้รู้ระยะเวลาการเจริญเติบโตและวิธีการปลูกผักกวางตุ้งมากขึ้นโดยสังเกตได้จากลำต้นมีการขยายขึ้นและมีใบเขียวเต็มเนื่องจากได้รับน้ำและปุ๋ยอย่างเพียงพอ
และสามารถนำผักกวางตุ้งที่โตเต็มวัยแล้วนำไปขายให้กับแม่ค้าหรือนำไปรับประทานก็ได้